------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
สูตรขนมไทย
ขนมชั้น
ส่วนผสม
แป้งข้าวเจ้าชนิดผงอย่างดี 2 ถ้วยตวง
แป้งมันหรือแป้งท้าวยายม่อม 2 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 6 ถ้วยตวง
น้ำลอยดอกมะลิ 8 ถ้วยตวง
กะทิ 6 ถ้วยตวง
น้ำใบเตย
สีชมพู (สีผสมอาหาร)
วิธีทำ
1.ต้มน้ำตาลกับน้ำลอยดอกมะลิ 2 ถ้วยตวง
พอเดือดและน้ำตาลละลาย แล้วกรอง ทิ้งไว้ให้เย็น
2.ผสมแป้งข้าวเจ้า แป้งมัน กับกะทิน้ำเชื่อม
คนให้เข้ากัน
3.แบ่งแป้งออกเป็นสีขาว 2 ส่วน สีชมพู
และสีใบเตย 1 ส่วน
4.นำถาดใส่บนลังถึง ตั้งบนไฟแรงๆ
พอน้ำเดือดเปิดฝา ตักแป้งสีขาว เทใส่ให้บางๆ ปิดฝานึ่ง นึ่งจนสุก
จะมีลักษณะใส
5.เปิดฝาลังถึง ตักแป้งสีชมพูใส่ลงอีก
ทำสลับกันจนหมดแป้ง
6.สีเขียวใบเตยก็ทำเช่นเดียวกับสีชมพู
พอสุกทิ้งไว้ให้เย็น ตัดเป็นรูปตามชอบ
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6-4/no16-20-34/kanomthai/sec07p02.html

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6-4/no16-20-34/kanomthai/sec07p02.html
สูตรอาหารไทย
ไข่ลูกเขย
วิธีทำทีละขั้นตอน

* ไข่ไก่หรือไข่เป็ด 6 ฟอง (ต้มและแกะเปลือกออก)
* น้ำมะขามเปียก 3/4 ถ้วยตวง
* น้ำตาล 1/4 ถ้วยตวง
* น้ำปลา 1/4 ถ้วยตวง
* น้ำมัน 1/4 ถ้วยตวง
* หอมแดงซอยบางๆ 10-15 ลูก
* ผักชี (สำหรับแต่งหน้าอาหาร)
![]() |
![]() |
|
1. ใส่น้ำมันในกระทะ ตั้้งไฟร้อนปานกลาง
นำไข่ต้มลงไปทอดจนผิวเริ่มกรอบและเป็นสีเหลือง เสร็จแล้วนำไข่ออกมาใส่จานเสริฟ
2. ใช้น้ำมันที่เหลือในกระทะ นำไปตั้งไฟ
และใส่หอมแดงลงไปทอดจนเหลืองกรอบ (ระวังไหม้) นำออกมาสะเด็ดน้ำมัน
3. ใช้น้ำมันส่วนที่เหลือจากการทอดไข่และเจียวหอมแดง นำไปตั้งไฟ
ใส่น้ำตาล, น้ำมะขามและน้ำปลา ปรุงจนได้รสชาติที่ต้องการ
(รสชาติดั้งเดิมจะมีรสหวานและเปรี้ยวพอๆกัน)
4. หั่นไข่ต้ม และจัดเรียงไว้ในจาน
ราดด้วยน้ำราดที่่ทำในขั้นตอนที่สาม โรยหน้าด้วยหอมเจียวและผักชี
เสริฟทันทีพร้อมข้าวสวยร้อนๆ
-------------------------------------------------------------------------------------
|
ชุดไทย ชุดไทยประยุกต์ ชุดไทยพระราชนิยม (Thai traditional dresses)
ชุดไทย แต่งงาน ชุดไทยแบบต่างๆ ประวัติ ชุดไทยพระราช
นิยม
ชุดไทย ( Thai traditional dresses ) ในที่นี้ หมายถึง ไทยเรือนต้น ไทยบรมพิมาน ไทยอมรินทร์ ไทยจิตรลดา ไทยจักรพรรดิ ไทยจักรี ไทยศิวาลัย และชุดไทยดุสิต ซึ่งเป็น ชุดไทยพระราชนิยม (Thai Phra Ratcha Niyom) ที่ได้รับการยอมรับว่า เป็นเครื่องแต่งกาย ที่งดงามมากๆ จากสังคมไทย โดยนิยมใช้ เนื่องในโอกาส และ พิธีการ ที่เป็นทางการมากๆ เช่น งานเข้าเฝ้า งานบ้านงานเมือง งานราตรี ใน ต่างประเทศ ความนิยม และ การเลือกใช้ ชุดไทยแต่งงาน ของคนไทย และ พิธีกรรม สำคัญใน สังคมชั้นสูง อีกหลายชนิด
วัฒนธรรม การแต่งกายไทย โดยการใช้ ชุดไทย นี้ได้เกิดเป็น กระแสนิยม กันสืบเนื่องมา หลังจากที่ สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำริ และทำการ ส่งเสริม อย่างจริงจัง จนเกิด เครื่องแต่งตัว เป็นมาตรฐาน ของผู้หญิงไทย ในแบบต่างๆขึ้น ตามที่กล่าว เสื้อผ้าที่ได้รับยกย่องว่า ชุดประจำชาติไทย

แต่วัฒนธรรมนั้น ย่อมมีการเจริญเติบโต และการเปลี่ยนแปลง อยู่เสมอ ตาม วิถีชีวิต ประชาชน สภาพสังคม ศาสนา สถานะภาพ ในสังคม และ ผลจากสื่อ ชนิดต่างๆ ที่มีในขณะนั้น ท่านสามารถ อ่านบทความเรื่อง ความเป็นมาของชุดไทย ก่อนมีการ เปลี่ยนแปลงแบบในบางส่วน และมีคำเรียกทางการค้าว่า ชุดไทยประยุกต์ ซึ่งประวัติความเป็นมา ชุดไทยพระราชนิยม ก่อนเห็นชุดไทยประยุกต์ ในแบบปัจจุบัน ดังลิ้งค์ที่ เรา ให้ไว้
ชุดไทยแบบต่างๆ ดีไซน์จากทีมงาน ไทยท็อป เวดดิ้ง
หากท่านเริ่มสนใจผลงาน ชุดไทยแบบต่างๆ จาก ทีมงานงานดีไซน์เรา แต่มีเวลาน้อย ขอแนะนำ การดูชุดรุ่นใหม่ๆ จาก ลิ้งค์ รวมแบบ ชุดไทย ชุดแต่งงาน ชุดงานหมั้น สวยๆ รูปชุด แบบอื่นๆ ก็จากการคลิกลิ้งค์ เช่น บนรูปชุดไทยแบบต่างๆ รุ่นใหม่ๆ ด้านล่างนี้เป็นต้น![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
อนึ่ง แบบชุดไทยเจ้าสาว รุ่นเก่าๆ บางส่วนในนี้ อาจทำให้ท่านคุ้นเคย กับความเป็นผู้ผลิต แฟชั่นชุดไทยประยุกต์ ทั้งชุดไทยงานหมั้น และชุดงานแต่งงานวันจริง ผลงานของเราได้บ้าง หากอยากชม แต่มันก็เป็นแบบและเว็บที่ไม่ได้ทำการอัพเดทเลย มาครบ 3 ปี ช่วงปีกระต่าย คงใช้ โอกาศ อันดีทำเว็ปแฟชั่นภาษาไทย แห่งนี้ให้สมบูรณ์ มากยิ่งขึ้น
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- http://www.thaitopwedding.com/Thai-Dresses-01.html |
การไหว้ผี พิธียกขันหมาก ในงานแต่งงานไทย
การไหว้ผี
การไหว้ผีเหย้าผีเรือน และผีปู่ย่าตายายที่บ้าน ของฝ่ายเจ้าสาวนี้ เป็นการบอกกล่าวให้ทราบ และเพื่อให้ เจ้าบ่าว ทำการฝากเนื้อฝากตัว จะกระทำก่อน การตรวจนับสินสอด คือเมื่อขบวนขันหมากของเจ้าบ่าว ขึ้นบนเรือน แล้ว เฒ่าแก่ทั้งสอง ฝ่ายจำนำ คู่บ่าวสาวไปไหว้ผี โดยเฒ่าแก่ฝ่ายหญิง จูงมือเจ้าสาว เฒ่าแก่ฝ่ายชาย จูงมือเจ้าบ่าว ให้นั่งคู่กัน
การไหว้ผีนิยมไหว้ที่เสาดั้งกันเรือน หรือที่ตั้งของรูป ปู่ย่าตายายซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว การไหว้ผีนั้นนิยมใช้ธูป เพียงดอกเดียว ไม่ใช้สามดอกอย่างไหว้พระ นอกจากเครื่องเซ่นแล้ว อาจมีผ้าไหว้ ที่ทางเจ้าสาว จัดเตรียม หรือจัดมาไว้ด้วย
การไหว้ผีในปัจจุบัน ก็ใช้มือพนมกราบธรรมดา ๓ ครั้ง แต่ในสมัยโบราณ จะมีคำกล่าว เป็นพิธีการ ยาวบ้าง สั้นบ้าง ตามแต่จะนิยม เป็นคำบอกกล่าว และขอพร ตามธรรมเนียมของคนไทย ซึ่งเมื่อจะกระทำ เรื่องอะไรก็ตาม ย่อมควรบอกกล่าว ปรึกษาผู้ใหญ่ให้ท่านรับรู้
เสร็จจากการไหว้ผีแล้ว จึงทำการตรวจนับสินสอด และทำพิธีไหว้บิดามารดารวมทั้งญาติ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
http://www.thaitopwedding.com/wedding-ceremony/organizer-27.html
วิธีการทำยากันยุงสมุนไพรจากธรรมชาติ 100%
ส่วนผสมยากันยุงสมุนไพรจากธรรมชาติ 100%
- เปลือกส้มแห้ง 150 กรัม
- ตะไคร้หอม 50 กรัม
- ขี้เลื่อย 50 กรัม
- แป้งเปียก 200 กรัม
► วิธีทำยากันยุงสมุนไพรจากธรรมชาติ 100%
- นำเปลือกส้มและตะไคร้หอมมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
- นำขี้เลื่อยไปตากแดดให้แห้ง แล้วนำมาบดละเอียด
- นำเปลือกส้ม 3 ส่วน ตะไคร้หอม 1 ส่วน ขี้เลื่อย 1 ส่วน ผสมกัน แล้วนำแป้งเปียกคลุกรวมกันให้เหนียวเหมือนชันยาเรือ
- เสร็จแล้วนำไปใส่บล็อกหรือแม่พิมพ์ แล้วนำไปตากแดดให้แห้งสนิท โดยใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน
- บรรจุใส่บรรจุภัณฑ์ พร้อมใช้หรือจำหน่าย
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
http://www.yesspathailand.com
วิธีการทำกระด้ง
1) มีด
2) เลื่อย
3) คีม
4) ไม้ไผ่
5) ลวด
6) เชือก
7) เหล็ก
วิธีการดำเนินงาน จัดทำโครงงาน
1)ศึกษาและรับฟังวิธีการทำกระด้งอย่างละเอียด
2) ตัดไม้ไผ่ ยาวประมาณ 2 เมตร
3) จากนั้นนำไม้ไผ่มาเหลา ให้เป็นเส้นบางพอสมควรที่จะสานกระด้งได้
4) แล้วนำมาวางเรียงกัน 8 เส้น นำไม้ไผ่มาสานกัน เป็นลายขัดกัน 2 เส้น จากนั้นก็สานต่อไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้ตามขนาดที่เราต้องการ
5) ไปเหลาไม้ไผ่มาดัดมาทำเป็นขอบกระด้ง
6) นำขอบกระด้งมาประกอบกัน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
http://www.gotoknow.org/posts/323659
การสานกระติบข้าว

ภูมิปัญญา คือ แบบแผนการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่า แสดงถึงความเฉลียวฉลาดของบุคคลและสังคมซึ่งได้สั่งสมปฏิบัติสืบต่อกันมา
กระติบข้าวของชาวอีสานเป็นภาชนะเก็บอาหารที่ทางคุณค่ามากด้วยภูมิปัญญา เก็บความร้อนได้ดี ในขณะที่ยอมให้ไอน้ำระเหยออกไปได้ ทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุภายในกระติบไม่แฉะด้วยไอน้ำ ต่างจากกระติกน้ำแข็ง ที่พ่อค้าแม่ค้าข้าวเหนียวส้มตำบางร้านนำมาใช้บรรจุข้าวเหนียวเพื่อรอขายซึ่งจำเป็นต้องใช้ผ้าขาวรองอีกทีก่อนบรรจุข้าวเหนียว แต่เม็ดข้าวที่อยู่รอบขอบกระติกก็ยังแฉะอยู่ดี
เคล็ดลับของการสารกระติบข้าวอยู่ที่การสานภาชนะเป็นสองชั้น ชั้นในสุดจะสานด้วยตอกไม้ให้มีความห่างเล็กน้อยเพื่อให้ไอน้ำระเหยออกจากข้าวไปสู่ช่องว่างภายในก่องหรือกระติบข้าวได้ ชั้นนอกสุดจะสานด้วยตอกที่มีความชิดแน่นกว่าเพื่อเก็บความร้อนเอาไว้ ไอน้ำที่มีความร้อนอยู่ภายในช่องว่างนี้จะช่วยทำให้ข้าวเหนียวที่อยูภายในกระติบยังคงความร้อนได้อีกนาน โดยเมล็ดข้าวจะไม่มีไอน้ำเกาะ
ฝากระติบและตัวกระติบจะมีลักษณะเหมือนกัน เพียงแต่มีขนาดที่ต่างกันเล็กน้อย สามารถสวมใส่กันได้พอดี ในส่วนตัวกระติบจะมีฐานรองทำจากก้านตาลขดเป็นวงกลม มีขนาดเล็กกว่าตัวกระติบเล็กน้อย ยึดด้วยหวายให้ติดกับตัวกระติบ
กระติบข้าวเป็นของใช้ประจำบ้านที่ใช้บรรจุข้าวเหนียว ทุกครัวเรือน ทุกพื้นที่ที่รับประทานข้าวเหนียว
ความเป็นมา กระติบข้าวของชาวอีสานเป็นภาชนะเก็บอาหารที่ทางคุณค่ามากด้วยภูมิปัญญา เก็บความร้อนได้ดี ในขณะที่ยอมให้ไอน้ำระเหยออกไปได้ ทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุภายในกระติบไม่แฉะด้วยไอน้ำ ต่างจากกระติกน้ำแข็ง ที่พ่อค้าแม่ค้าข้าวเหนียวส้มตำบางร้านนำมาใช้บรรจุข้าวเหนียวเพื่อรอขายซึ่งจำเป็นต้องใช้ผ้าขาวรองอีกทีก่อนบรรจุข้าวเหนียว แต่เม็ดข้าวที่อยู่รอบขอบกระติกก็ยังแฉะอยู่ดี
เคล็ดลับของการสารกระติบข้าวอยู่ที่การสานภาชนะเป็นสองชั้น ชั้นในสุดจะสานด้วยตอกไม้ให้มีความห่างเล็กน้อยเพื่อให้ไอน้ำระเหยออกจากข้าวไปสู่ช่องว่างภายในก่องหรือกระติบข้าวได้ ชั้นนอกสุดจะสานด้วยตอกที่มีความชิดแน่นกว่าเพื่อเก็บความร้อนเอาไว้ ไอน้ำที่มีความร้อนอยู่ภายในช่องว่างนี้จะช่วยทำให้ข้าวเหนียวที่อยูภายในกระติบยังคงความร้อนได้อีกนาน โดยเมล็ดข้าวจะไม่มีไอน้ำเกาะ
ฝากระติบและตัวกระติบจะมีลักษณะเหมือนกัน เพียงแต่มีขนาดที่ต่างกันเล็กน้อย สามารถสวมใส่กันได้พอดี ในส่วนตัวกระติบจะมีฐานรองทำจากก้านตาลขดเป็นวงกลม มีขนาดเล็กกว่าตัวกระติบเล็กน้อย ยึดด้วยหวายให้ติดกับตัวกระติบ
กระติบข้าวเป็นของใช้ประจำบ้านที่ใช้บรรจุข้าวเหนียว ทุกครัวเรือน ทุกพื้นที่ที่รับประทานข้าวเหนียว
เกือบทุกครอบครัว จะทำกระติบใช้เอง โดยหัวหน้าครอบครัว เพราะการทำกระติบถือเป็นงานหัตถกรรม การสานกระติบกับเป็นหน้าที่ของชายหญิงด้วยเป็นงานที่เบากว่า กระติบเป็นภาชนะทรงกระบอกสานด้วยตอกไม้ไผ่ ใช้สำหรับใส่ข้าวเหนียว ที่นึ่งสุกแล้ว ชาวร้อยเอ็ด เลือกใช้ไม้ไผ่มาจักสาน มีการออกแบบกระติบ มี 2 ชั้น ช่วยรักษาความร้อน ของข้าวนึ่ง โดยสามารถ เก็บรักษาข้าวนึ่งให้อุ่นคงความนุ่มอยู่ได้หลายชั่วโมง โดยไม่ชื้นแฉะหรือแห้ง กระติบหรือกระติ๊บ มีรูปทรงกระบอกและรูปทรงสี่เหลี่ยมคล้ายกระป๋อง มีฝาปิดมีเชือก ร้อยสำหรับหิ้วและถือโดยทั่วไปภาชนะสำหรับใส่ข้าวเหนียวนึ่ง มีสองลักษณะ คือ ก่องข้าวกับกระติบข้าว ก่องข้าวเป็นเครื่องจักรสาน มีลักษณะ กลมป่องผายออกมาถึงปากและมีฝาปิดเป็นรูปทรงฝาชี มีฐานและ มีหูหิ้วสำหรับร้อยเชือก ส่วนกระติบข้าวเป็นเครื่องจักสานมีลักษณะ รูปทรงกระบอกและสี่เหลี่ยมมีผาปิดครอบเช่นเดียวกัน วัสดุที่ใช้ทำกระติบข้าวคือวัสดุที่ได้จากธรรมชาติตามท้องถิ่น เช่น กก หวาย ใบลาน กระจูด เตย ย่านลิเพา ใบมะพร้าวและใม้ไผ่ ที่นิยมมากที่สุดคือไม้ไผ่ เพราะหาได้ง่ายและมีคุณสมบัติพิเศษคือ แข็งแรงเหนียวมีการยืดตัวหดตัวสามารถตัดโค้งดีดเด้งตัวคือได้
ความรู้เกี่ยวกับกระติบข้าว
กระติบข้าวเป็นของใช้ประจำบ้านที่ใช้บรรจุข้าวเหนียว ทุกครัวเรือน ทุกพื้นที่ที่รับประมานข้าวเหนียว
ประโยชน์ที่ใช้จากข้าวเหนียว
1.ใช้บรรจุข้าวเหนียว
2.เป็นของชำร่วย
3.ประดับตกแต่ง
4.กล่องอเนคประสงค์
5.กล่องออมสิน
6.แจกัน
7.กล่องใส่ดินสอ
จุดเด่น ของการสานกระติบข้าว
1. สานเป็นลวดลายต่าง ๆ หรือเป็นตัวหนังสือทั้งไทยและอังกฤษ จะได้ราคาดี
2. หาอุปกรณ์ในการทำง่าย
3. ทำให้เกิดอัตราการว่างงาน และเป็นอาชีพที่สุจริต และเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว
4. วิวัฒนาการเป็นของชำร่วยได้มากมาย เช่น กล่องใส่กระดาษชำระ กระเป๋า แจกัน
การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้
ในการทำกระติบข้าว
1. มีการนำเอาใสไม้ไฟฟ้า ที่เลิกใช้แล้วมาดัดแปลงทำเป็นเครื่องขูดตอกที่อ่อนบาง
2. ได้นำสีย้อมไหม ใช้ในการย้อมเส้นตอกเพื่อทำลวดลาย ให้สีสันสวยงามยิ่งขึ้น
3. นำวิธีการประดิษฐ์ เป็นลายประยุกต์และตัวอักษร ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
4. มีการตกแต่งฝาบน ด้วยการทำคิ้วเพื่อความสวยงาม และคงทน
5. มีการทำเครื่องกรอด้ายไนล่อน ที่นำมาพันคิ้ว ด้วยเครื่องมือ ทำให้กรอได้เร็วและละเอียดสวยงามยิ่งขึ้น

2. เมื่อเหลาไม้ไผ่จนมีขนาดเหลือความหนาประมาณ 0.05 เชนติเมตร ก็จะขูดเสี้ยนไม้ออก เพื่อให้ตอกมีความเรียบและอ่อนบางที่สุด กระติบที่ได้ก็จะสวย และเวลาสานถ้าหากว่าเป็นตอกอ่อนก็จะทำให้สานง่ายไม่เจ็บมืออีกด้วย

1. สานเป็นลวดลายต่าง ๆ หรือเป็นตัวหนังสือทั้งไทยและอังกฤษ จะได้ราคาดี
2. หาอุปกรณ์ในการทำง่าย
3. ทำให้เกิดอัตราการว่างงาน และเป็นอาชีพที่สุจริต และเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว
4. วิวัฒนาการเป็นของชำร่วยได้มากมาย เช่น กล่องใส่กระดาษชำระ กระเป๋า แจกัน
การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้
ในการทำกระติบข้าว
1. มีการนำเอาใสไม้ไฟฟ้า ที่เลิกใช้แล้วมาดัดแปลงทำเป็นเครื่องขูดตอกที่อ่อนบาง
2. ได้นำสีย้อมไหม ใช้ในการย้อมเส้นตอกเพื่อทำลวดลาย ให้สีสันสวยงามยิ่งขึ้น
3. นำวิธีการประดิษฐ์ เป็นลายประยุกต์และตัวอักษร ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
4. มีการตกแต่งฝาบน ด้วยการทำคิ้วเพื่อความสวยงาม และคงทน
5. มีการทำเครื่องกรอด้ายไนล่อน ที่นำมาพันคิ้ว ด้วยเครื่องมือ ทำให้กรอได้เร็วและละเอียดสวยงามยิ่งขึ้น

เหตุผลที่นิยมใช้กระติบข้าวบรรจุข้าวเหนียว
1.ทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุไม่เหนียวแฉะ ไม่ติดมือ
2.พกพาสะดวก หิ้วไปได้ทุกหนทุกแห่ง
วัสดุที่ใช้ทำกระติบข้าว
1.ไม้ไผ่บ้าน
2.ด้ายไนล่อน
3.เข็มเย็บผ้าขนาดใหญ่
4.กรรไกร
5.มีดโต้
6.เลื่อย
7.เหล็กหมาด(เหล็กแหลม)
8.ก้านตาล
9.เครื่องขูดตาล
10.เครื่องกรอดาย
ขั้นตอนการสานกระติบข้าว
1. การเตรียมไม้ไผ่สำหรับการสานกระติบข้าวนั้น ควรมีอายุไม่เกินหนึ่งปี โดยเลือกไผ่ที่โตเพียงฝนเดียวมาทำก่องข้าวหรือสานกระติบ สำหรับไผ่ที่ใช้ทำกระติบได้ดีที่สุดจะมีอายุประมาณ4-5 เดือน
1. การเตรียมไม้ไผ่สำหรับการสานกระติบข้าวนั้น ควรมีอายุไม่เกินหนึ่งปี โดยเลือกไผ่ที่โตเพียงฝนเดียวมาทำก่องข้าวหรือสานกระติบ สำหรับไผ่ที่ใช้ทำกระติบได้ดีที่สุดจะมีอายุประมาณ4-5 เดือน
การเลือกไม้ไผ่ จะเลือกไม้ที่มีข้อปล้องยาวและตรง มีผิวเรียบเป็นมันนำมาตัดข้อปล้องทางหัวและท้ายออก โดยใช้เลื่อยตัดรอบไม้ไผ่เพื่อป้องกันผิวไผ่ฉีก ขนาดของปล้องไม้ไผ่หนึ่ง ควรมีความยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร จากนั้นจึงใช้มีดโต้ผ่าออกเป็นชิ้นๆ แล้วใช้มีดตอกจักเป็นตอกขูดเปลือกสีเขียว ของมันออกและตากแดดเพื่อเก็บรักษาเอาไว้ก่อนจะทำงานสาน
2. เมื่อเหลาไม้ไผ่จนมีขนาดเหลือความหนาประมาณ 0.05 เชนติเมตร ก็จะขูดเสี้ยนไม้ออก เพื่อให้ตอกมีความเรียบและอ่อนบางที่สุด กระติบที่ได้ก็จะสวย และเวลาสานถ้าหากว่าเป็นตอกอ่อนก็จะทำให้สานง่ายไม่เจ็บมืออีกด้วย
3. เมื่อได้ตอกมาประมาณ 100-150 เส้นแล้ว ก็จะเริ่มสานกระติบข้าวได้ บางครั้งผู้สานต้องการเพิ่มลวดลายในการสานกระติบก็จะย้อมสีตอกก่อนก็มี ส่วนใหญ่จะใช้สีผสมลงในกระบอกไม้ไผ่แล้วนำมาย้อมตอกให้เป็นสีสันตามที่ตัวเองต้องการ
เมื่อลงมือสานมักจะเริ่มต้นสานใช้ตอก 6 เส้น แล้วสานด้วยลายสอง โดยทิ้งชายตอกให้เหลือประมาณ 5 เซนติเมตร เมื่อสานได้ยาวจนชายตอกอีกด้านเหลือประมาณ 3 เซนติเมตรให้นำชายทั้งสองข้างมาประกับกันโดยใช้ลายสอง และเมื่อนำมาประกบกันได้แล้วด้วยลายสอง ก็จะม้วนชายตอกที่ไม่ต้องการอีกทีด้วยการสานลายสองเวียน
เมื่อลงมือสานมักจะเริ่มต้นสานใช้ตอก 6 เส้น แล้วสานด้วยลายสอง โดยทิ้งชายตอกให้เหลือประมาณ 5 เซนติเมตร เมื่อสานได้ยาวจนชายตอกอีกด้านเหลือประมาณ 3 เซนติเมตรให้นำชายทั้งสองข้างมาประกับกันโดยใช้ลายสอง และเมื่อนำมาประกบกันได้แล้วด้วยลายสอง ก็จะม้วนชายตอกที่ไม่ต้องการอีกทีด้วยการสานลายสองเวียน
การสานกระติบให้ประกบซ้อนกันเป็นสองชั้น ก็เพื่อช่วยเก็บความร้อนให้อยู่ได้ชั่วขณะหนึ่งพอที่จะทำให้ได้กินข้าวเหนียวที่ไม่แข็งเกินไป นอกจากนั้นกระติบข้าวที่ทำจากไม้ไผ่ยังช่วยดูดซับเอาหยาดน้ำที่อยู่ภายในที่จะเป็นตัวทำให้ข้าวเปียกหรือแฉะได้อีกด้วย
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สานแห
ขั้นตอนวิธีการสานแห
วัสดุ
๑.ด้ายในล่อนเบอร์ ๑๐๐
๒.ลูกแห
๓.ใบกระโดน,ใบบก,เปลือกดู่
๔.เลือดหมู/วัว/ควาย
อุปกรณ์ กิม หรือ จีม ปาน เชือก ด้าย
๑. กิม หรือ จีม
เป็นอุปกรณ์ในการสานใช้กรอด้ายคล้ายกระสวยทอผ้า
มีลักษณะเป็นไม้ไผ่เหลาให้แบนหนาประมาณ ๓ - ๔ มิลลิเมตร กว้าง ๑ นิ้ว ยาว ๘ นิ้ว หัวแหลมมน ประมาณ ๑ ใน ๓ ส่วนของความยาว เจาะทะลุยาวตามส่วนหนึ่งในสามมีเดือยตรงกลาง ส่วนท้ายใช้มีดควงให้เป็นตัวยู
๒.ปาน หรือ ไม้แบบ
มีลักษณะเป็นไม้ไผ่เหลาให้แบนคล้ายไม้บรรทัดยาว ๓-๖ นิ้ว หนาประมาณ ๒-๓ มิลลิเมตร ส่วนความกว้าง ขึ้นอยู่กับตาของแหที่ต้องการ ( ตาแหขึ้นอยู่กับขนาดตัวปลาที่เราต้องการ เช่น แหตาถี่ใช้สำหรับจับปลาที่มีขนาดเล็ก แหที่มีตาห่างใช้จับปลาขนาดใหญ่
ขั้นตอน/วิธีการสาน
๑.จุดเริ่มต้นในการสาน คือ การถักจอม ลักษณะของจอมมีบ่วงไว้สำหรับห้อยแขวนระหว่างสาน
๒.สานแข/ตัวขยาย สานเรื่อยๆ ให้มีความยาวประมาณ ๓ เมตร ( หรือตามความต้องการ )
๓. ทำแห่งสำหรับผูกเพลาปล่อยตาลงอีกประมาณ ๕๐ เซนติเมตร
๔. นำโซ่หรือลูกตะกั่วหรือลูกแหมาสานต่อจากด้าย
๕. ย้อมแห
วิธีการย้อม
๑. นำใบกระโดน,ใบบก ตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาแต่น้ำ
๒. ผสมน้ำที่คั้นได้กับเลือด ( เลือดหมู หรือ เลือดวัว/ควาย )
๓. นำแหมามาคลุกจนชุ่มเปียก ประมาณ ๒ - ๓ ชั่วโมง
๔. นำแหออกตากแดดจนแห้ง
๕. ถ้ามีเวลาก็อาจนำมานึ่งด้วยเพื่อความคงทนใช้งานได้นาน
ผลงานการถ่ายทอดภูมิปัญญา
ทุกวันนี้คุณตาสุพรรณ นอกจาสานหาตามที่ลูกค้าสั่ง ราคา ๑,๒๐๐ – ๓,๐๐๐ บาท คุณตายังถ่ายทอดให้กับชาวบ้านตะเคียนเหนือ และมีองค์ความรู้จัดเก็บไว้ในศูนย์เรียนรู้ชุมชนของหมู่บ้าน หากใครสนใจก็สามารถศึกษาเรียนรู้และสอบถามเพิ่มเติมได้ แต่ต้องเรียนและฝึกไปด้วยพร้อมๆกันถึงจะเป็นจะเก่ง
เจ้าของความรู้/ภูมิปัญญา
นายสุพรรณ พันธ์ทอง อายุ ๗๕ ปี บ้านเลขที่ บ้านตะเคียนเหนือ หมู่ทา ๑๒ ตำบลศรีแก้ว อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ โทร.
ถ่ายทอดต่อโดย
นางสาวพิมพ์ใจ จันอาภาส
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติกา
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ
-------------------------------------------------------------------------------------------
การสานหมวกใบตาล
กำเนิดและวิวัฒนาการของเครื่องจักสาน
การแปรรูปวัตถุดิบที่ใช้ทำเครื่องจักสานเป็นพัฒนาการสำคัญในการทำเครื่องจักสานเพราะการใช้วัสดุที่เป็นเส้นเล็ก เช่น ตอก หวาย ย่านลิเภา ทำให้มนุษย์สามารถประดิษฐ์เครื่องจักสานให้มีรูปทรงตามต้องการ และมีความประณีตงดงามยิ่งขึ้น
การทำเครื่องจักสานบางชนิดในบางท้องถิ่นช่างจักสานจะสานภาชนะหรือใช้ไม้ทำเป็นแบบให้มีรูปทรงตามความต้องการก่อน แล้วจึงสานทับแม่แบบอีกทีหนึ่ง เพื่อให้ได้เครื่องจักสานที่มีรูปร่างและขนาดที่เหมือนๆ กันเป็นจำนวนมากเช่น การสานกระบุงบางท้องถิ่นในจังหวัดแพร่ช่างจักสานจะสานกระบุงแม่แบบหรือต้นแบบก่อนแล้วจึงสานกระบุงที่ต้องการตามแม่แบบที่สานไว้หรือการสานหมวกหรือกุบในภาคเหนือ ซึ่งช่างจักสานมักใช้ไม้กลึงเป็นรูปหมวกมาเป็นแม่แบบแล้วสานโครงหมวกตามแม่แบบที่เป็นไม้นั้น จากนั้นจึงบุด้วยใบลานหรือใบตาลอีกชั้นหนึ่ง วิธีนี้จะทำให้ได้หมวกที่มีรูปร่างเหมือนกันและมีขนาดเท่าๆ กัน นอกจากนี้ก็มีการสานครุหรือแอ่วสำหรับตีข้าวของภาคเหนือ ซึ่งเป็นเครื่องจักสานขนาดใหญ่ที่ใช้ตอกขนาดใหญ่ ช่างจักสานจึงต้องขุดดินเป็นหลุมเป็นแม่แบบ แล้วลงไปสานในหลุมที่เป็นแม่แบบนั้น โดยมีหลุมดินเป็นแม่แบบบังคับให้เครื่องจักสานมีรูปทรงตามต้องการ การสานเครื่องจักสานโดยใช้แม่แบบนี้ ช่วยให้ได้เครื่องจักสานที่มีรูปร่างเหมือนๆ กันเป็นจำนวนมากหรือใช้สานเครื่องจักสานที่มีรูปทรงแปลกๆ จึงต้องใช้แม่แบบ เช่น การสานแจกัน การสานเป็นรูปสัตว์ในประเทศจีน ซึ่งใช้ตอกสานหุ้มทับแจกันดินเผาหรือเครื่องปั้นดินเผารูปสัตว์ ทำให้ได้เครื่องจักสานที่มีรูปทรงตามแม่แบบนั้นๆ
การทำเครื่องจักสานบางชนิดในบางท้องถิ่นช่างจักสานจะสานภาชนะหรือใช้ไม้ทำเป็นแบบให้มีรูปทรงตามความต้องการก่อน แล้วจึงสานทับแม่แบบอีกทีหนึ่ง เพื่อให้ได้เครื่องจักสานที่มีรูปร่างและขนาดที่เหมือนๆ กันเป็นจำนวนมากเช่น การสานกระบุงบางท้องถิ่นในจังหวัดแพร่ช่างจักสานจะสานกระบุงแม่แบบหรือต้นแบบก่อนแล้วจึงสานกระบุงที่ต้องการตามแม่แบบที่สานไว้หรือการสานหมวกหรือกุบในภาคเหนือ ซึ่งช่างจักสานมักใช้ไม้กลึงเป็นรูปหมวกมาเป็นแม่แบบแล้วสานโครงหมวกตามแม่แบบที่เป็นไม้นั้น จากนั้นจึงบุด้วยใบลานหรือใบตาลอีกชั้นหนึ่ง วิธีนี้จะทำให้ได้หมวกที่มีรูปร่างเหมือนกันและมีขนาดเท่าๆ กัน นอกจากนี้ก็มีการสานครุหรือแอ่วสำหรับตีข้าวของภาคเหนือ ซึ่งเป็นเครื่องจักสานขนาดใหญ่ที่ใช้ตอกขนาดใหญ่ ช่างจักสานจึงต้องขุดดินเป็นหลุมเป็นแม่แบบ แล้วลงไปสานในหลุมที่เป็นแม่แบบนั้น โดยมีหลุมดินเป็นแม่แบบบังคับให้เครื่องจักสานมีรูปทรงตามต้องการ การสานเครื่องจักสานโดยใช้แม่แบบนี้ ช่วยให้ได้เครื่องจักสานที่มีรูปร่างเหมือนๆ กันเป็นจำนวนมากหรือใช้สานเครื่องจักสานที่มีรูปทรงแปลกๆ จึงต้องใช้แม่แบบ เช่น การสานแจกัน การสานเป็นรูปสัตว์ในประเทศจีน ซึ่งใช้ตอกสานหุ้มทับแจกันดินเผาหรือเครื่องปั้นดินเผารูปสัตว์ ทำให้ได้เครื่องจักสานที่มีรูปทรงตามแม่แบบนั้นๆ
ขั้นตอนและเทคโนโลยีการผลิตหมวกใบตาลบ้าน
วัสดุอุปกรณ์
1. ใบตาล
2. แม่พิมพ์
3. มีด
4. สีย้อมผ้า
5. ไม้ไผ่
6. เข็ม
7. ด้าย
1. ใบตาล
2. แม่พิมพ์
3. มีด
4. สีย้อมผ้า
5. ไม้ไผ่
6. เข็ม
7. ด้าย
ขั้นตอนในการทำ
1. ตัดไม้ไผ่เป็นท่อนยาวประมาณ 90 เซนติเมตร
2. เหลาไม้ไผ่ให้เป็นเส้นเล็กๆ บางๆ
3.จากนั้นก็นำเอาไม้ไผ่เส้นเล็กๆบางๆ มาสานถักเป็นจอมไว้
4. หลังจากนั้นก็นำเอาที่ทำเป็นจอมเสร็จแล้ว ที่ทำเสร็จแล้วมาก่อให้เป็นจอม มาประกบกับแม่พิมพ์แล้วสานให้เป็นรูปหมวก
5.จากนั้นก็ถอดโครงหมวกออกจากแม่พิมพ์
6. ตัดใบตาลเป็นท่อนแล้วนำไปย้อมสีตามที่ต้องการ
7.นำใบตาลที่ย้อมสีแล้วมาสานเข้ากับโครงที่ทำไว้ โดยใช้เข็มกับด้ายเย็บเข้าติดกันกับโครง
8.ถ้าต้องการสวยงามก็นำไปทาด้วยแล็กเกอร์
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การสานตะกร้อจากใบมะพร้าว
การสานตะกร้อจากใบมะพร้าว

ตะกร้อ เป็นของเล่นชนิดหนึ่ง การสานตะกร้อเป็นการสานเพื่อนำมาเป็นของเล่นการสานใช้วัสดุได้หลายชนิด เช่น ใบตาล ใบลาน และใบมะพร้าว เป็นต้น วัสดุที่นำมาสานกันมากหาง่าย คือ ใบมะพร้าว ซึ่งหาได้จากต้นมะพร้าวที่มีขึ้นในท้องถิ่น ต้นมะพร้าวเป็นต้นไม้ยืนต้นผลและยอดอ่อนใช้มาเป็นส่วนประกอบของอาหารคาว–หวาน ลำต้นนำมาเลื่อยทำเป็นที่อยู่อาศัยใบให้ร่มเงา นำมามุงเป็นหลังคาแทนวัสดุอื่น และนำมาใช้เป็นวัสดุงานสานต่าง ๆ ได้
การสานตะกร้อจากใบมะพร้าว
วัสดุอุปกรณ์
1. ใบมะพร้าว
2. กรรไกร
ขั้นตอนการประดิษฐ์
การสานตะกร้อจากใบมะพร้าว

1. นำใบมะพร้าวสดมาฉีกเป็นเส้นยาว 50 เซนติเมตร กว้าง 2 เซนติเมตร จำนวน 4 เส้น

2. นำใบมะพร้าวมาวางทับกันพับปลายเส้นด้านซ้ายพับขึ้นบนแล้วพับปลาย อีกข้างพับขึ้นบนทับเส้นด้านซ้าย

3. พับด้านบนลงมา แล้วนำปลายด้านล่างขึ้นมาสอดที่ช่องใต้รอยพับแล้วดึงให้แน่น

4. สานเหมือนกับ (ข้อ 1 – ข้อ 3) 2 ชุด

5. นำมาสานขัดกันเหมือนหางเปียไม่พับริม 4 – 5 รอบ

6. จัดรูปตะกร้อ ส่วนที่สานแล้วให้เข้าที่ นำปลายสอดตามปลายที่สาน

7. สอดเรื่อย ๆ ไป จนพอเหมาะจึงตัดส่วนที่เหลือทิ้งด้วยกรรไกร จะได้ตะกร้อ สำเร็จ ตกแต่งให้เรียบร้อยสวยงาม

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
วิธีการสานสุ่มไก่
ประวัติการสานสุ่มไก่
เริ่มครั้งแรกเมื่อ 40 กว่าปีก่อน มีชาวบ้านละแวกนี้ 3 - 4 คน สานสุ่มไก่ขึ้นมาใช้เอง ปรากฏว่ามีผู้สนใจขอซื้อ จึงใช้เวลาว่างหลังจากเสร็จสิ้นฤดูกาลทำนา ทำไร่ สานสุ่มไก่ขึ้นมาขายเป็นอาชีพเสริม ปรากฏว่าตลาดยังต้องการมากขึ้นๆ จนคนในหมู่บ้านทำจักสานสุ่มไก่กันอย่างแพร่หลายสามารถประกอบอาชีพสานสุ่มไก่เป็นอาชีพหลัก โดยเลิกการทำนาไร่ เพราะมีรายได้ดีกว่ากันมาก จักสานสุ่มไก่ของตำบลถูกส่งไปขายทั่วประเทศไทย ปัจจุบันตำบลหัวถนนเป็นแหล่งผลิตจักสานสุ่มไก่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขั้นตอนแรกเริ่ม
หาไม้ไผ่ขนาดที่พอดีไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป
ขั้นตอนการสานสุ่มไก่
ขั้นที่ 1
: ผ่าลำไผ่ออกเป็นเส้นๆ
ขั้นที่ 2
: เหลาตอกเส้นไผ่เป็นตอกยืน ตอกยาว และตอกไผ่ตีน ความกว้างของตอก แต่ละแบบโดยประมาณ ตอกยืน 1.3-1.7 เซนติเมตร ตอกยาว 0.8 เซนติเมตรและ ตอกไผ่ตีน 1.6-2.0 เซนติเมตร
เริ่มครั้งแรกเมื่อ 40 กว่าปีก่อน มีชาวบ้านละแวกนี้ 3 - 4 คน สานสุ่มไก่ขึ้นมาใช้เอง ปรากฏว่ามีผู้สนใจขอซื้อ จึงใช้เวลาว่างหลังจากเสร็จสิ้นฤดูกาลทำนา ทำไร่ สานสุ่มไก่ขึ้นมาขายเป็นอาชีพเสริม ปรากฏว่าตลาดยังต้องการมากขึ้นๆ จนคนในหมู่บ้านทำจักสานสุ่มไก่กันอย่างแพร่หลายสามารถประกอบอาชีพสานสุ่มไก่เป็นอาชีพหลัก โดยเลิกการทำนาไร่ เพราะมีรายได้ดีกว่ากันมาก จักสานสุ่มไก่ของตำบลถูกส่งไปขายทั่วประเทศไทย ปัจจุบันตำบลหัวถนนเป็นแหล่งผลิตจักสานสุ่มไก่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขั้นตอนแรกเริ่ม
หาไม้ไผ่ขนาดที่พอดีไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป
ขั้นตอนการสานสุ่มไก่
ขั้นที่ 1
: ผ่าลำไผ่ออกเป็นเส้นๆ
ขั้นที่ 2
: เหลาตอกเส้นไผ่เป็นตอกยืน ตอกยาว และตอกไผ่ตีน ความกว้างของตอก แต่ละแบบโดยประมาณ ตอกยืน 1.3-1.7 เซนติเมตร ตอกยาว 0.8 เซนติเมตรและ ตอกไผ่ตีน 1.6-2.0 เซนติเมตร
ขั้นที่ 3
: ส่วนที่เป็นข้อไผ่นำมาเหลาเป็นตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดหัวสุ่ม เพื่อ
ไม่ให้สุ่มขยับเขยื่อนในขณะสานขึ้นรูป
ขั้นที่ 4
: เริ่มจากสานตอกยาวและตอกยืนเป็นหัวสุ่มแบบลายขั้น
ขั้นที่ 5
: ขุดหลุมตอกหลัก มัดข้อไผ่กับหลักมุดยึดหัวสุ่มบนพื้นดินลานกว้างเพื่อยึดสุ่มไก่การสานขึ้นรูป
ขั้นที่ 6
: ใช้ตอกยาวสานรอบๆสุ่มไก่เพื่อขึ้นรูปแบบลายหนึ่ง โดยจุดเริ่มต้น
ลายมูยโดยจุดเริมเปลี่ยน
ขั้นที่ 7
: สุ่มไก่ที่สามารถนำไปจำหน่ายได้
: ส่วนที่เป็นข้อไผ่นำมาเหลาเป็นตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดหัวสุ่ม เพื่อ
ไม่ให้สุ่มขยับเขยื่อนในขณะสานขึ้นรูป
ขั้นที่ 4
: เริ่มจากสานตอกยาวและตอกยืนเป็นหัวสุ่มแบบลายขั้น
ขั้นที่ 5
: ขุดหลุมตอกหลัก มัดข้อไผ่กับหลักมุดยึดหัวสุ่มบนพื้นดินลานกว้างเพื่อยึดสุ่มไก่การสานขึ้นรูป
ขั้นที่ 6
: ใช้ตอกยาวสานรอบๆสุ่มไก่เพื่อขึ้นรูปแบบลายหนึ่ง โดยจุดเริ่มต้น
ลายมูยโดยจุดเริมเปลี่ยน
ขั้นที่ 7
: สุ่มไก่ที่สามารถนำไปจำหน่ายได้
การสานสุ่มไก่
การจักรสานวิถีไทย นับพันปีมาแล้ว ที่มนุษย์ได้รู้จักวิธีการนำวัตถุดิบที่อยู่ใกล้ตัว
มาดัดแปลงเป็นสิ่งของเครื่องใช้ จากขั้นตอนที่ง่ายจนวิวัฒนาการสู่ความละเอียดอ่อน
ประณีตงดงามในเชิงศิลปะและประโยชน์ใช้สอย จนสนองความต้องการได้เป็นอย่างดี
และสืบทอดมาจนปัจจุบัน กรรมวิธีดังกล่าว
ช่วยให้มนุษย์ได้ผลิตสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ไว้เป็นจำนวนมาก
เราเรียกสิ่งประดิษฐ์นั้นว่า “หัตถกรรม” อันหมายถึง
การสร้างสิ่งของเครื่องใช้ด้วยมือ เครื่องมือ ภูมิปัญญา
เพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน
และถ้าสิ่งประดิษฐ์นั้นมีค่ามากกว่าการใช้สอย โดยรวมความงาม
เน้นให้เห็นถึงการสร้างสรรค์ ประณีตงดงามเป็นความละเอียดอ่อนในทางศิลปะ
เรามักเรียกสิ่งประดิษฐ์นั้นว่า “ หัตถกรรมศิลป์ ” เครื่องจักสาน คือ
เครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้ไผ่หรือหวาย จากฝีมือความคิด
ภูมิปัญญาของชาวบ้านมีลักษณะรูปทรงแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ
วัสดุอุปกรณ์คตินิยม และอาชีพของคนในท้องถิ่นนั้นๆ
คำว่า “ จักสาน” คำว่า จัก คือ การทำให้เป็นแฉก เป็นหยักๆ ด้วยฟันเลื่อย
หรืออีกวิธีการหนึ่ง การที่ชาวบ้านใช้คมมีดผ่าไม้ไผ่แล้วทำให้เป็นเส้นบางๆ
วิธีการอย่างนี้ก็เรียกว่า จัก เช่นกัน ส่วนไม้ไผ่ หรือ หวาย
ที่จักออกมาเป็นเส้นบางๆ นั้นเรียกว่า ตอก
ถึงตอนนี้การที่ชาวบ้านนำตอกมาขัดกันจนเกิดลวดลายที่ต้องการ เราเรียกว่า สาน
ต่อจากนั้นแล้วก็จะเป็นการสร้างสรรค์ให้เกิดรูปทรงต่างๆ
จนท้ายที่สุดเป็นภาชนะสามารถนำไปใช้สอยได้ตามต้องการ
ความเป็นมาของการสานสุ่มไก่ ความเป็นมาของการทำสุ่มในหมู่บ้านมีชาวบ้านจำนวนมากที่ชื่นชอบและนิยมกีฬาชนไก่
จึงมีการเลี้ยงไก่ชนเป็นจำนวนมาก
และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเลี้ยงดูไก่ชนอย่างใกล้ชิดคือสุ่มไก่
ซึ่งสุ่มไก่นี้สานได้ง่าย มีราคาถูกและใช้ประโยชน์ได้ดี
การสานสุ่มไก่นี้ได้สืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านานมากสืบทอดมาทั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ
จึงได้มีการสานสุ่มสืบต่อกันมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันก็ได้สานสุ่มเป็นอาชีพ
เพราะด้วยวัยที่มากขึ้นทุกวัน ไม่สามารถออกไปทำงานได้
จึงยึดอาชีพสานสุ่มไก่ขายเป็นหลัก
ขั้นตอนการสานสุ่มไก่
ขั้นที่ 1 หาไม้ไผ่ขนาดพอดีไม่แก่หรืออ่อนเกินไป
ขั้นที่ 2 ผ่าลำไผ่ออกเป็นเส้นๆ
ขั้นที่ 3 เหลาตอกเส้นไผ่เป็นตอกยืน ตอกยาว และตอกไผ่ตีน ความกว้างของตอก
แต่ละแบบโดยประมาณ ตอกยืน 1.3-1.7 เซนติเมตร ตอกยาว 0.8 เซนติเมตรและ ตอกไผ่ตีน
1.6-2.0 เซนติเมตร
ขั้นที่ 4 ส่วนที่เป็นข้อไผ่นำมาเหลาเป็นตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดหัวสุ่ม
เพื่อไม่ให้สุ่ม ขยับเขยื่อนในขณะสานขึ้นรูปหมุดยึดหัวสุ่ม
เพื่อไม่ให้สุ่มขยับเขยื่อนในขณะสานขึ้นรูป
ขั้นที่ 5 ใช้ค้อนตอกตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดหัวสุ่มบนพื้นดินลานกว้าง
เพื่อยึดสุ่มไก่ ไว้ใน การสานขึ้นรูปใช้ตอกยาวสานรอบ ๆ
สุ่มไก่เพื่อขึ้นรูปแบบลายหนึ่ง (ยกหนึ่งข้ามหนึ่ง)
โดยจุดเริ่มต้นของตอกยาวแต่ละเส้นเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อย ๆ
เพื่อให้สุ่มไก่ได้รูปทรงกลม
ขั้นที่ 6 สานตีนสุ่มไก่ โดยใช้ตอกไผ่ตีนประมาณ 5 เส้นขั้นที่ 7
การเลื่อยตัดปลายตอกยืนตีนสุ่มไก่ที่ยื่นยาวทิ้งไป
ขั้นที่ 8 ได้สุ่มไก่ที่เสร็จสมบรูณ์
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การสานตะกร้า
การสานตะกร้า
|
ที่มา/ผู้้ถ่ายทอด
นายพรม กอสูงเนิน ได้สนใจการจักสานมาตั้งแต่อายุ 30 ปี โดยได้ศึกษาแบบอย่างจากคนรุ่นเก่า ๆ ที่ทำการจักสานภายในหมู่บ้าน (ปัจจุบันเสียชีวิตหมดแล้ว) และได้ทดลองทำเพราะเห็นว่าทำได้ไม่ยากนัก วัตถุดิบก็คือไม้ไผ่สีสุกที่หาได้ในพื้นที่และมีจำนวนมาก โดยในการฝีึกจักสานครั้งแรกได้เริ่มสานตะกร้า และสานเข่งขนาดทั่วไป ด้วยสาเหตุที่เกษตรกรในพื้นที่มีอาชีพทำไร่พริก และไร่ข้าวโพดซึ่งมีความต้องการเข่งในการใส่ผลผลิตทางการเกษตร และได้มาว่าจ้างให้นายพรมสานให้ ซึ่งเข่งนี้จะมีขนาดใหญ่พิเศษกว่าเข่งธรรมดา นอกจากสานเข่งใส่ข้าวโพดและตะกร้าแล้ว นายพรมยังสานหวดสำหรับนึ่งข้าว กรงนก และเครื่องมือหาปลาด้วย |
เครื่องมือ/อุปกรณ์ที่สำคัญ ไม้ไผ่สีสุก (ไม้ไผ่บ้าน)หรือไม้ไผ่รวกลวด ไม้ตะโกใช้ทำงวง (โดยเหลาไม้ตะโกและใช้เชือกผูกปลายทั้ง 2 ข้าง เพื่อดัดให้โค้ง แล้วทิ้งไว้หลาย ๆ วันเพื่อให้ไม้อยู่ตัว)
|
วิธีทำโดยสังเขป การทำก้นและตัวตะกร้า
1.การเตรียมไม้โดยเหลาไม้ไผ่เพื่อใช้ทำส่วนที่เป็นก้นตะกร้า และโครงตะกร้า (เรียกว่า "ตอกแบน") โดยใช้ไม้ไผ่ลำที่แก่พอประมาณ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าลำพอมีน้อง เลือกเอาลำใหญ่ ๆ ซึ่งจะเหลาเอาเฉพาะผิวไม้ไผ่ซึ่งจะทำให้ตะกร้ามีความแข็งแรงและคงทน การสานจะสานจากก้นตะกร้าก่อนเนื่องจากเป็นโครงหลักโดยการสอดไม้ขัดกันไปมา ตอกที่ใช้ในการก้นตะกร้าจะใช้ประมาณ 20 เส้นขึ้นไปหรือแล้วแต่ขนาดของตะกร้า 2. ยกขัดเป็นลาย 2 (ขัด 2 ยก 2) ให้ไม้ไขว้ก้นตะกร้า 2อัน เพื่อป้องกันก้นทะลุเวลาใส่ของหนัก 3. เหลาตอกเส้นเล็กประมาณ 2มิลลิเ้มตรวนขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นโครงรูปตะกร้า ความสูงตามที่ต้องการ การทำปากตะกร้า ใช้ไม้ไผ่เส้นเล็กกลมสานตัดกันพันหักมุมเพื่อเม้มปาก การทำงวงตะกร้า เมื่อสานตัวตะกร้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว นำไม้ตะโกที่มีขนาดพอเหมาะมาดัดให้โค้ง โดยนำลวดเจาะระหว่างปลายงวงสอดไปใต้ก้นตะกร้าเพื่อป้องกันงวงหลุดเวลาใส่ของหนัก ๆ การทำไม้คอนหาบ นำลำไผ่บริเวณโคนต้น (หรือชาวบ้านเรียกว่าซอ) มาเหลาทำหัวโมะเพื่อไม่ให้งวงรูดเวลาหาบ ความยาวประมาณ 1.5 เมตร เคล็ดลับ เมื่อสานเสร็จแล้วให้ใช้แกลบเผาไฟแล้ว นำตะกร้าไปรมควันจะทำให้มอดไม่มาเจาะตะกร้า |
ช่วงระยะเวลาที่ทำ ช่วงที่ว่างจากงานประจำ สำหรับตะกร้า 1 ใบ ใช้เวลาในการสานประมาณ 2 วัน (โดยที่เตรียมอุปกรณ์ไว้พร้อมแล้ว)
|
ปริมาณที่ผลิต/ราคาที่จำหน่าย เข่งใบใหญ่สำหรับใส่พืชผลทางการเกษตร จำหน่ายราคาคู่ละ 350 บาท
|
ผู้ให้ข้อมูล
นายพรม กอสูงเนิน (3-3008-00890-79-7) อายุ 77 ปี บ้านเลขที่ 16 หมู่ที่ 6บ้านดงมะเกลือตำบลโนนเมืองพัฒนา อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา
ที่มา:http://nonmeang.5u.com/Wisdom/Wisdom14.htm
|
วิธีการสานปลาตะเพียน
"ปลาตะเพียน" ถือเป็นปลาที่มีลักษณะพิเศษที่โดดเด่น ในด้านความแข็งแรง ปราดเปรียว และเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การสานปลาตะเพียนเพื่อมอบให้แก่ทารกจึงถือเป็นนัยยะที่สื่อถึงการมอบสารอันประเสริฐ เพื่อให้ทารกมีสุขภาพและพลานามัยที่แข็งแรง ปราดเปรียว เลี้ยงง่าย โตเร็วและเจริญรุ่งเรือง
==วิธีการสานปลาตะเพียน==
ชั้นที่1




ชั้นที่2








ขอบคุณข้อมูลจาก http://thainews.prd.go.th
==วิธีการสานปลาตะเพียน==
ชั้นที่1
ชั้นที่2
ขอบคุณข้อมูลจาก http://thainews.prd.go.th


สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)