วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สานแห

ขั้นตอนวิธีการสานแห
วัสดุ
๑.ด้ายในล่อนเบอร์ ๑๐๐
๒.ลูกแห
๓.ใบกระโดน,ใบบก,เปลือกดู่
๔.เลือดหมู/วัว/ควาย
อุปกรณ์ กิม หรือ จีม ปาน เชือก ด้าย
๑. กิม หรือ จีม
เป็นอุปกรณ์ในการสานใช้กรอด้ายคล้ายกระสวยทอผ้า
มีลักษณะเป็นไม้ไผ่เหลาให้แบนหนาประมาณ ๓ - ๔ มิลลิเมตร กว้าง ๑ นิ้ว ยาว ๘ นิ้ว หัวแหลมมน ประมาณ ๑ ใน ๓ ส่วนของความยาว เจาะทะลุยาวตามส่วนหนึ่งในสามมีเดือยตรงกลาง ส่วนท้ายใช้มีดควงให้เป็นตัวยู
๒.ปาน หรือ ไม้แบบ
มีลักษณะเป็นไม้ไผ่เหลาให้แบนคล้ายไม้บรรทัดยาว ๓-๖ นิ้ว หนาประมาณ ๒-๓ มิลลิเมตร ส่วนความกว้าง ขึ้นอยู่กับตาของแหที่ต้องการ ( ตาแหขึ้นอยู่กับขนาดตัวปลาที่เราต้องการ เช่น แหตาถี่ใช้สำหรับจับปลาที่มีขนาดเล็ก แหที่มีตาห่างใช้จับปลาขนาดใหญ่
ขั้นตอน/วิธีการสาน
๑.จุดเริ่มต้นในการสาน คือ การถักจอม ลักษณะของจอมมีบ่วงไว้สำหรับห้อยแขวนระหว่างสาน
๒.สานแข/ตัวขยาย สานเรื่อยๆ ให้มีความยาวประมาณ ๓ เมตร ( หรือตามความต้องการ )
๓. ทำแห่งสำหรับผูกเพลาปล่อยตาลงอีกประมาณ ๕๐ เซนติเมตร
๔. นำโซ่หรือลูกตะกั่วหรือลูกแหมาสานต่อจากด้าย
๕. ย้อมแห
วิธีการย้อม
๑. นำใบกระโดน,ใบบก ตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาแต่น้ำ
๒. ผสมน้ำที่คั้นได้กับเลือด ( เลือดหมู หรือ เลือดวัว/ควาย )
๓. นำแหมามาคลุกจนชุ่มเปียก ประมาณ ๒ - ๓ ชั่วโมง
๔. นำแหออกตากแดดจนแห้ง
๕. ถ้ามีเวลาก็อาจนำมานึ่งด้วยเพื่อความคงทนใช้งานได้นาน
ผลงานการถ่ายทอดภูมิปัญญา
ทุกวันนี้คุณตาสุพรรณ นอกจาสานหาตามที่ลูกค้าสั่ง ราคา ๑,๒๐๐ – ๓,๐๐๐ บาท คุณตายังถ่ายทอดให้กับชาวบ้านตะเคียนเหนือ และมีองค์ความรู้จัดเก็บไว้ในศูนย์เรียนรู้ชุมชนของหมู่บ้าน หากใครสนใจก็สามารถศึกษาเรียนรู้และสอบถามเพิ่มเติมได้ แต่ต้องเรียนและฝึกไปด้วยพร้อมๆกันถึงจะเป็นจะเก่ง
เจ้าของความรู้/ภูมิปัญญา
นายสุพรรณ พันธ์ทอง อายุ ๗๕ ปี บ้านเลขที่ บ้านตะเคียนเหนือ หมู่ทา ๑๒ ตำบลศรีแก้ว อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ โทร.
ถ่ายทอดต่อโดย
นางสาวพิมพ์ใจ จันอาภาส
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติกา
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ
 
-------------------------------------------------------------------------------------------
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น