วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การสานกระติบข้าว

 
ภูมิปัญญา คือ แบบแผนการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่า แสดงถึงความเฉลียวฉลาดของบุคคลและสังคมซึ่งได้สั่งสมปฏิบัติสืบต่อกันมา
กระติบข้าวของชาวอีสานเป็นภาชนะเก็บอาหารที่ทางคุณค่ามากด้วยภูมิปัญญา เก็บความร้อนได้ดี ในขณะที่ยอมให้ไอน้ำระเหยออกไปได้ ทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุภายในกระติบไม่แฉะด้วยไอน้ำ ต่างจากกระติกน้ำแข็ง ที่พ่อค้าแม่ค้าข้าวเหนียวส้มตำบางร้านนำมาใช้บรรจุข้าวเหนียวเพื่อรอขายซึ่งจำเป็นต้องใช้ผ้าขาวรองอีกทีก่อนบรรจุข้าวเหนียว แต่เม็ดข้าวที่อยู่รอบขอบกระติกก็ยังแฉะอยู่ดี
เคล็ดลับของการสารกระติบข้าวอยู่ที่การสานภาชนะเป็นสองชั้น ชั้นในสุดจะสานด้วยตอกไม้ให้มีความห่างเล็กน้อยเพื่อให้ไอน้ำระเหยออกจากข้าวไปสู่ช่องว่างภายในก่องหรือกระติบข้าวได้ ชั้นนอกสุดจะสานด้วยตอกที่มีความชิดแน่นกว่าเพื่อเก็บความร้อนเอาไว้ ไอน้ำที่มีความร้อนอยู่ภายในช่องว่างนี้จะช่วยทำให้ข้าวเหนียวที่อยูภายในกระติบยังคงความร้อนได้อีกนาน โดยเมล็ดข้าวจะไม่มีไอน้ำเกาะ
ฝากระติบและตัวกระติบจะมีลักษณะเหมือนกัน เพียงแต่มีขนาดที่ต่างกันเล็กน้อย สามารถสวมใส่กันได้พอดี ในส่วนตัวกระติบจะมีฐานรองทำจากก้านตาลขดเป็นวงกลม มีขนาดเล็กกว่าตัวกระติบเล็กน้อย ยึดด้วยหวายให้ติดกับตัวกระติบ
กระติบข้าวเป็นของใช้ประจำบ้านที่ใช้บรรจุข้าวเหนียว ทุกครัวเรือน ทุกพื้นที่ที่รับประทานข้าวเหนียว
ความเป็นมา
เกือบทุกครอบครัว จะทำกระติบใช้เอง โดยหัวหน้าครอบครัว เพราะการทำกระติบถือเป็นงานหัตถกรรม การสานกระติบกับเป็นหน้าที่ของชายหญิงด้วยเป็นงานที่เบากว่า กระติบเป็นภาชนะทรงกระบอกสานด้วยตอกไม้ไผ่ ใช้สำหรับใส่ข้าวเหนียว ที่นึ่งสุกแล้ว ชาวร้อยเอ็ด เลือกใช้ไม้ไผ่มาจักสาน มีการออกแบบกระติบ มี 2 ชั้น ช่วยรักษาความร้อน ของข้าวนึ่ง โดยสามารถ เก็บรักษาข้าวนึ่งให้อุ่นคงความนุ่มอยู่ได้หลายชั่วโมง โดยไม่ชื้นแฉะหรือแห้ง กระติบหรือกระติ๊บ มีรูปทรงกระบอกและรูปทรงสี่เหลี่ยมคล้ายกระป๋อง มีฝาปิดมีเชือก ร้อยสำหรับหิ้วและถือโดยทั่วไปภาชนะสำหรับใส่ข้าวเหนียวนึ่ง มีสองลักษณะ คือ ก่องข้าวกับกระติบข้าว ก่องข้าวเป็นเครื่องจักรสาน มีลักษณะ กลมป่องผายออกมาถึงปากและมีฝาปิดเป็นรูปทรงฝาชี มีฐานและ มีหูหิ้วสำหรับร้อยเชือก ส่วนกระติบข้าวเป็นเครื่องจักสานมีลักษณะ รูปทรงกระบอกและสี่เหลี่ยมมีผาปิดครอบเช่นเดียวกัน วัสดุที่ใช้ทำกระติบข้าวคือวัสดุที่ได้จากธรรมชาติตามท้องถิ่น เช่น กก หวาย ใบลาน กระจูด เตย ย่านลิเพา ใบมะพร้าวและใม้ไผ่ ที่นิยมมากที่สุดคือไม้ไผ่ เพราะหาได้ง่ายและมีคุณสมบัติพิเศษคือ แข็งแรงเหนียวมีการยืดตัวหดตัวสามารถตัดโค้งดีดเด้งตัวคือได้

ความรู้เกี่ยวกับกระติบข้าว
กระติบข้าวเป็นของใช้ประจำบ้านที่ใช้บรรจุข้าวเหนียว ทุกครัวเรือน ทุกพื้นที่ที่รับประมานข้าวเหนียว
ประโยชน์ที่ใช้จากข้าวเหนียว
1.ใช้บรรจุข้าวเหนียว
2.เป็นของชำร่วย
3.ประดับตกแต่ง
4.กล่องอเนคประสงค์
5.กล่องออมสิน
6.แจกัน
7.กล่องใส่ดินสอ
จุดเด่น ของการสานกระติบข้าว

1. สานเป็นลวดลายต่าง ๆ หรือเป็นตัวหนังสือทั้งไทยและอังกฤษ จะได้ราคาดี
2. หาอุปกรณ์ในการทำง่าย
3. ทำให้เกิดอัตราการว่างงาน และเป็นอาชีพที่สุจริต และเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว
4. วิวัฒนาการเป็นของชำร่วยได้มากมาย เช่น กล่องใส่กระดาษชำระ กระเป๋า แจกัน
การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้

ในการทำกระติบข้าว
1. มีการนำเอาใสไม้ไฟฟ้า ที่เลิกใช้แล้วมาดัดแปลงทำเป็นเครื่องขูดตอกที่อ่อนบาง
2. ได้นำสีย้อมไหม ใช้ในการย้อมเส้นตอกเพื่อทำลวดลาย ให้สีสันสวยงามยิ่งขึ้น
3. นำวิธีการประดิษฐ์ เป็นลายประยุกต์และตัวอักษร ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
4. มีการตกแต่งฝาบน ด้วยการทำคิ้วเพื่อความสวยงาม และคงทน
5. มีการทำเครื่องกรอด้ายไนล่อน ที่นำมาพันคิ้ว ด้วยเครื่องมือ ทำให้กรอได้เร็วและละเอียดสวยงามยิ่งขึ้น

เหตุผลที่นิยมใช้กระติบข้าวบรรจุข้าวเหนียว
1.ทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุไม่เหนียวแฉะ ไม่ติดมือ
2.พกพาสะดวก หิ้วไปได้ทุกหนทุกแห่ง
วัสดุที่ใช้ทำกระติบข้าว
1.ไม้ไผ่บ้าน
2.ด้ายไนล่อน
3.เข็มเย็บผ้าขนาดใหญ่
4.กรรไกร
5.มีดโต้
6.เลื่อย
7.เหล็กหมาด(เหล็กแหลม)
8.ก้านตาล
9.เครื่องขูดตาล
10.เครื่องกรอดาย
 
ขั้นตอนการสานกระติบข้าว
1. การเตรียมไม้ไผ่สำหรับการสานกระติบข้าวนั้น ควรมีอายุไม่เกินหนึ่งปี โดยเลือกไผ่ที่โตเพียงฝนเดียวมาทำก่องข้าวหรือสานกระติบ สำหรับไผ่ที่ใช้ทำกระติบได้ดีที่สุดจะมีอายุประมาณ4-5 เดือน

การเลือกไม้ไผ่ จะเลือกไม้ที่มีข้อปล้องยาวและตรง มีผิวเรียบเป็นมันนำมาตัดข้อปล้องทางหัวและท้ายออก โดยใช้เลื่อยตัดรอบไม้ไผ่เพื่อป้องกันผิวไผ่ฉีก ขนาดของปล้องไม้ไผ่หนึ่ง ควรมีความยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร จากนั้นจึงใช้มีดโต้ผ่าออกเป็นชิ้นๆ แล้วใช้มีดตอกจักเป็นตอกขูดเปลือกสีเขียว ของมันออกและตากแดดเพื่อเก็บรักษาเอาไว้ก่อนจะทำงานสาน

2. เมื่อเหลาไม้ไผ่จนมีขนาดเหลือความหนาประมาณ 0.05 เชนติเมตร ก็จะขูดเสี้ยนไม้ออก เพื่อให้ตอกมีความเรียบและอ่อนบางที่สุด กระติบที่ได้ก็จะสวย และเวลาสานถ้าหากว่าเป็นตอกอ่อนก็จะทำให้สานง่ายไม่เจ็บมืออีกด้วย

3. เมื่อได้ตอกมาประมาณ 100-150 เส้นแล้ว ก็จะเริ่มสานกระติบข้าวได้ บางครั้งผู้สานต้องการเพิ่มลวดลายในการสานกระติบก็จะย้อมสีตอกก่อนก็มี ส่วนใหญ่จะใช้สีผสมลงในกระบอกไม้ไผ่แล้วนำมาย้อมตอกให้เป็นสีสันตามที่ตัวเองต้องการ
เมื่อลงมือสานมักจะเริ่มต้นสานใช้ตอก 6 เส้น แล้วสานด้วยลายสอง โดยทิ้งชายตอกให้เหลือประมาณ 5 เซนติเมตร เมื่อสานได้ยาวจนชายตอกอีกด้านเหลือประมาณ 3 เซนติเมตรให้นำชายทั้งสองข้างมาประกับกันโดยใช้ลายสอง และเมื่อนำมาประกบกันได้แล้วด้วยลายสอง ก็จะม้วนชายตอกที่ไม่ต้องการอีกทีด้วยการสานลายสองเวียน
การสานกระติบให้ประกบซ้อนกันเป็นสองชั้น ก็เพื่อช่วยเก็บความร้อนให้อยู่ได้ชั่วขณะหนึ่งพอที่จะทำให้ได้กินข้าวเหนียวที่ไม่แข็งเกินไป นอกจากนั้นกระติบข้าวที่ทำจากไม้ไผ่ยังช่วยดูดซับเอาหยาดน้ำที่อยู่ภายในที่จะเป็นตัวทำให้ข้าวเปียกหรือแฉะได้อีกด้วย

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น